รับเหมาก่อสร้าง-รับสร้างบ้าน-ต่อเติม-ซ่อมแซม บ้าน อาคารโรงงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและบริเวณใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น-งานปูพื้น-งานตกแต่งภายใน-งานฝ้าเพดาน-งานผนังกั้นห้อง-ระบบงานไฟฟ้า-งานขุดเจาะงาน ปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านใหม่ ต่อเติมอาคารร้านอาหาร,ร้านค้า, ต่อเติมบ้าน, อาคาร, ต่อครัว, ต่อโรงรถ, งานพื้น, งานผนัง, งานฝา, ทาสีอาคาร, ปูกระเบื้อง, งานเหล็ก, ทำรั้ว,กำแพง, โครงหลังคา, ซ่อมหลังคา ระเบียง ผนังรั่ว ซ่อมแซม นึกถึง ทีมงาน เฮียเล็ก ติดต่อ 093-062-2532

เลี้ยงนกกะทา ไข่ขายได้ เนื้อขายดี ขี้ก็ขายได้ กำไรงาม


อาชีพ การเลี้ยงนกกะทา เป็นอีกอาชีพการเกษตรที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะผลผลิตจากนกกะทา สามารถขายได้เกือบทุกส่วน ไข่ก็ขายได้ เนื้อก็ขายได้ ขนก็ขายได้ ขี้นกก็ยังขายทำเป็นปุ๋ยได้ วันนี้ Blogger Farmfriend จะขอนำเสนอวิธีการเลี้ยงนกกะทา เพื่อสร้างรายได้เสริม หรืออาจจะเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวเลยก็ได้.......

นกกะทาที่นิยมเลี้ยงเพื่อเก็บไข่ขายนั้นเป็นนกกะทาสายพันธุ์ญี่ปุ่น มีประวัติความเป็นมาคือ แต่ก่อนนิยมเลี้ยงเพื่อฟังเสียง ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก  สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิดแต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่นจึงได้มีการนำนกกระทาจาก ญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมายเท่ากับการ เลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตามแต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร ได้ดีเพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆและใช้เงินลงทุนน้อย.....

ข้อดีของการเลี้ยงนกกะทา
นกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70% ให้ผลตอบแทนเร็ว เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินลงทุนน้อย วิธีการเลี้ยงดูง่าย โตเร็ว เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี

การเตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงนกกะทา




โรงเรือนสำหรับ นกกระทา จะสร้างแบบเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ เช่น แบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่ว แต่ขอให้สะดวกต่อการปฏิบัติเลี้ยงดู และรักษาความสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกกระทาอยู่อย่างปลอดภัยจากศัตรูที่มารบกวน และเป็นโรงเรือนแบบง่ายๆ ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ภายในโรงเรือนหากจะเลี้ยงแบบกรงซ้อนกันหลายๆ ชั้น เพดานต้องสูงพอสมควร

พื้นโรงเรือน ควรเป็นพื้นคอนกรีต เพราะสะดวกในการล้างทำความสะอาด หากเป็นพื้นดินจะต้องอัดให้แน่น สำหรับฝาโรงเรือนควรใช้ลวดตาข่ายหรือลวดถักขนาดเล็ก หรือไม้ขัดแตะก็ได้ ที่สามารถกันหนู นก และสัตว์อื่นๆ ได้ และควรจะมีผ้าม่านที่ใช้กั้นในเวลาที่ลมโกรก หรือกันฝนสาดเข้าไปในโรงเรือน

การระบายอากาศเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และผู้เลี้ยงควรจะเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง การระบายอากาศภายในโรงเรือนดีจะมีผลดีต่อสุขภาพการเจิรญเติบโตและการให้ผล ผลิตของนกกระทา เพราะการระบายอากาศเป็นการนำอากาศของเสียออกและดึงอากาศดีเข้าภายในโรงเรือน ซึ่งหากการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้ภายในโรงเรือนอับชื้น กลิ่นแก๊สแอมโมเนียสะสม ซึ่งจะมีผลต่อเยื่อตาของผู้เลี้ยงและนกกระทา รวมไปถึงมีผลต่อการให้ผลผลิตไข่ด้วย การระบายอากาศที่ดีประมาณ 0.5 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต่อนกกระทา 100 ตัว ที่อุณหภูมิห้อง 20 องศาเซลเซียส

กรงสำหรับเลี้ยงนกกะทา

กรงสำหรับลูกนก 



ขนาดของกรงกกขึ้นกับขนาดของลูกนก โดยทั่วไปจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 0.5 เมตร สำหรับกกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านกว้างของกรงควรจะทึบ ส่วนด้านยาวโปร่ง แต่ถ้าอากาศหนาวควรจะปิดทึบทั้ง 4 ด้าน พื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1x1 ซ.ม. หรือลวดตาข่ายพลาสติก ตาเล็กๆ กรงกกอาจจะวางซ้อนกันหลายๆ กรงก็ได้ แต่ต้องทำประตูเปิด-ปิดไว้ในทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน และควรมีภาชนะรองรับขี้นกจากกรงบนๆ ไม่ให้ตกใส่กรงด้านล่าง เพื่อป้องกันโรคระบาดด้วย

ภายในกรงกกต้องใช้กระสอบ หรือถุงอาหารสัตว์ หรือผ้าหนาๆ ปูพื้นเพื่อป้องกันขาลูกนกติดช่องตาข่าย และลูกนกได้รับความอบอุ่นเต็มที่ พอกกไปได้ 3-5 วัน อาจนำกระสอบที่ปูพื้นออกได้ แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นอาจใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย หญ้าแห้งสับ เป็นต้น

ลูกนกที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกเป็ด ลูกไก่ จึงจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น โดยใช้หลอดไฟฟ้า 1 หลอด สำหรับลูกนก 60-100 ตัว อุณหภูมิที่ใช้ในการกกในสัปดาห์แรก ประมาณ 95 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วค่อยๆ ลดลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮต์ จนเท่ากับอากาศธรรมดา ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตการกระจายลูกนกภายใต้เครื่องกกด้วย จะใช้เวลาในการกกนาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะช้า หรือเร็วขึ้นกับอุณหภูมิปกติ และสุขภาพของลูกนกด้วย หลังจากลูกนกอายุ 3 สัปดาห์ จะย้ายไปเลี้ยงในกรงนกรุ่น หรือกรงนกขังเดี่ยวก็ได้

ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ที่ให้น้ำ อาหาร จะต้องจัดให้เพียงพอกับจำนวนลูกนกที่เลี้ยงอยู่ เพราะถ้าภาชนะให้น้ำ-อาหารไม่เพียงพอ ลูกนกจะเข้ามาแย่งกันกินน้ำ-อาหาร ทำให้เบียดและเหยียบกันตายได้ หรือลูกนกตัวที่เล็ก หรืออ่อนแอก็จะเข้าไปกินน้ำ-อาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย

กรงนกใหญ่



กรงนกใหญ่อาจจะเป็นกรงขังเดี่ยว หรือกรงขังรวมฝูงใหญ่ก็ได้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ กรงขังเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสถิติข้อมูลนกกระทาเป็นรายตัวว่า ให้ผลผลิตมากน้อยเท่าใดหรือใช้แยกเลี้ยงนกกระทาที่แสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งกรงขังเดี่ยวอาจจะลักษณะเช่นเดียวกับกรงตับไข่ไก่ ซึ่งมีทั้งชนิดกรงตับชั้นเดียว หรือหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่ไม่ควรซ้อนกันมากเกินไป เพราะจำทกให้การทำงานลำบาก คือ ให้พื้นลาดเอียงเพื่อจะทำให้ไข่กลิ้งออกมาได้ รางอาหารและน้ำอยู่ด้านหน้า และหลังกรง ด้านข้างเป็นตาข่ายขนาด 1x2 นิ้ว เพื่อให้หัวนกลอดออกมากินอาหารได้ ขนาดอาจจะกว้างประมาณ 5 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว และสูง 5 นิ้ว พื้นลาดเอียง 15 องศา นอกจากจะเป็นกรงขังเดี่ยวแล้ว ผู้เลี้ยงอาจจะทำเป็นกรงตับเลี้ยงรวม 2 หรือ 3 ตัว หรือ 4 ตัวก็ได้

สำหรับกรงรวมฝูงใหญ่ จะมีข้อดีตรงที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอุปกรณ์และสะดวกในการเลี้ยง แต่ก็มีข้อเสีย หากการจัดการไม่ดี นกจะได้รับอาหารไม่ทั่วถึง หรือถ้าเลี้ยงแน่นเกินไปจะทำให้นกเครียด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและการให้ผลผลิตไข่ นอกจากนี้ยังยากที่จะทราบว่านกตัวใดไข่ ตัวไหนไม่ไข่ กรงรวมฝูงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร ใช้เลี้ยงนกได้ประมาณ 50-75 ตัว ส่วนความสูงของกรงนั้นควรให้สูงพอดับความสูงของนกที่จะยืนยืดตัวได้อย่าง สบาย ถ้าสูงมากเกินไปนกมักจะบิน หรือกระโดดซึ่งจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้นกได้รับบาดเจ็บอาจใช้มุ้งไนลอนตีปิดแทนไม้ หรือตาข่ายก็ได้

ภาชนะให้อาหารนกกะทา
ภาชนะ ใส่อาหารสำหรับลูกนก ควรใช้ถาดแบนๆ ที่มีขอบสูงไม่เกิน 1 ซ.ม. เพราะหากขอบสูงเกินไป ลูกนกจะกินอาหารไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นอาจใช้รางอาหารแบบไก่ และถ้าให้ดีควรเป็นรางอาหารที่มีขอบ ยื่นออกมาประมาณ 1/4 นิ้ว เพื่อกันอาหารถูกคุ้ยหกกระเด็นออกมา ซึ่งจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่นอกกกรงก็ได้ หลังจากลูกนกอายุมากว่า 4 สัปดาห์ จะใช้รางให้อาหารขึ้นกับความยาวของกรง ในกรณีที่วางรางอาหารไว้นอกกรง แต่ถ้าวางรางอาหารไว้ภายในกรงให้ใช้ขนาด 40-50 ซ.ม. โดยวางไว้หลายๆ จุด เพื่อให้นกกระทากินได้ทั่วถึง นอกจากนี้อาจให้ภาชนะอื่นๆ ดัดแปลงมาเลี้ยงนกกระทาก็ได้

ภาชนะให้น้ำนกกะทา สำหรับลูกนก ใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก โดยใส่ก้อนหินเล็กๆ เพื่อลดความลึกของน้ำ หรือทำที่กันไม่ให้ลูกนกตกน้ำหรือลงไปเล่นน้ำ เพราะจะทำให้ตายได้ โดยเฉพาะลูกนกอายุ 1 สัปดาห์แรก ผู้เลี้ยงอาจจจะดัดแปลงภาชนะอะไรก็ได้ ขอให้ปากภาชนะมีขนาดแคบและตื้น ให้เฉพาะหัวนกกระทาลงไปจิกกินน้ำได้เท่านั้น

ส่วนนกใหญ่ หรือลูกนกอายุเกิน 3 สัปดาห์แล้ว สามารถใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก หรือรางน้ำแบบแขวนก็ได้ โดยแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร นอกจากนี้อาจดัดแปลงภาชะนอื่นๆ ก็ได้ เช่น ถ้วย ขันขนาดเล็กๆ หรือที่ให้น้ำอัตโนมัติ

การเริ่มเลี้ยงนกกะทา



เราสามารถเริ่มเลี้ยงโดยซื้อพันธุ์นกกระทา จากฟาร์มที่เพาะลูกนกกระทาขายซึ่งมักจะขายลูกนกกระทาเมื่อมีอายุประมาณ 18 วัน หรือซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่ต้องการความง่ายและชัวร์ แนะนำให้ซื้อลูกนกมาเลี้ยงเลย โดยควรซื้อลูกนกที่มีอายุประมาณ 30 วัน มาเลี้ยง จะทำให้สามารถให้ผลผลิตเร็วขึ้น......

อาหารสำหรับนกกะทานั้นจะใช้อาหารสำหรับนกไข่โดยเฉพาะ ควรมีโปรตีนที่เพียงพอ อาจใช้อาหารสำเร็จรูปหรือผสมเอง อาหารจะมีผลต่อการออกไข่ของนก ถ้าอาหารดี มีโปรตีนที่เพียงพอ นกจะให้ไข่สูงถึงวันละสิบกว่าฟองต่อตัวเลยทีเดียว ปกตินกหนึ่งตัวจะกินอาหารวันละ 15-20 กรัม เราควรให้อาหารนกสามเวลา เช้าเที่ยงเย็น เพราะนกจะกินอาหารอยู่ตลอดเวลา เติมไม่ต้องเต็มราง เพราะธรรมชาติของนกจะชอบเขี่ย ทำให้อาหารร่วงหล่นได้ ถ้าเราสามารถผสมอาหารได้เองก็จะสามารถลดต้นทุนได้เยอะและทำให้มีกำไรเพิ่ม ขึ้น...สำหรับสูตรอาหารนั้น Blogger farmfriend ก็มีสูตรการผสมง่ายๆ แต่ใช้ได้ผล มานำเสนอ โดยใช้อาหารไก่ไข่ 3 กิโลกรัม รำข้าว 5 กิโลกรัม ปลายข้าว 3 กิโลกรัม และวิตามิน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากันเป็นอันใช้ได้ น้ำที่ใช้เลี้ยงเราจะใช้น้ำสะอาด และจะมีการผสมวัคซีนเมื่อนกเป็นโรค

นอกจากนี้เราจะมีการให้แสงสว่างกับนกในตอนกลางคืนเพื่อให้กินอาหารได้เต็ม ที่ และเป็นการให้ความอบอุ่นแก่นก โดยใช้หลอดไฟที่มีความสว่างประมาณ 5 แรงเทียน หรืออาจจะใช้หลอดนีออนยาว 40W ก็ได้ หลังจากนกได้กินอาหารที่เพียงพอ ได้รับโปรตีนเต็มที่ ได้ดื่มน้ำที่สะอาด ผ่านไป 45-50 วันก็จะเริ่มออกไข่ให้เราได้เก็บ ถ้าไข่ออกเยอะเราอาจต้องเก็บสามเวลา เช้าเที่ยงเย็น และควรเก็บขี้นกไปทิ้งในตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นทุกวันด้วย เมื่อเก็บไข่ได้แล้วเราจะมาเลือกคัดเฉพาะไข่ที่สมบูรณ์ส่งขายเลือกฟองที่ เปลือกหนามีลายชัดเจน โดยราคาขายส่งตอนนี้จะอยู่ที่ 75-80 บาทต่อ 100 ฟอง และขี้นกกะทาสาใารถขายได้ราคากะสอบละ 30-40 บาทเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก
http://farmfriend.blogspot.com/2014/10/blog-post_23.html
แชร์ไปยัง Google Plus

About เฮียเล็ก

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น