ตอนเด็กๆจำได้ว่า เวลาลงเล่นน้ำ หรือหาปลา
จะมีการเหน็บเตี่ยว(นุ่งผ้าขาวม้า) ให้เห็นเป็นประจำ..ไม่ว่าจะเด็ก
หรือผู้ใหญ่ หลายคนคงสงสัย ผ้าขาวม้าคืออะไร ใครนำมันเข้ามา
การทำผ้าขาวม้าทำอย่างไร และมีการใช้มาตั้งแต่สมัยไหน......
ปัจจุบันนี้เขาใช้ผ้าขาวม้าทำอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับ....
ลักษณะของผ้าขาวม้า
ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี อย่างไรก็ตาม ผ้าสีเดียว ที่มีขนาดเท่ากับผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุกแบบนี้ หากนำมาใช้นุ่งสำหรับผู้ชาย ก็นิยมเรียกผ้าขาวม้าเช่นกัน ผ้าขาวม้าในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งคำว่าผ้าขาวม้า เป็นภาษาทางภาคกลาง ส่วนในภาคอีสานบางแห่งเรียกว่าผ้าแพร ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า กี่ และจะทอเป็นขนาดยาวประมาณ 20-30 เมตร ต่อการทอแต่ละครั้งแล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นผืน ผืนละ 1 วา หรือ ประมาณ 1 เมตรครึ่ง ดังนั้น บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าผ้าแพรวา บางพื้นที่ใช้ผ้าไหมทำก็จะเรียกผ้าไหมแพรวา เช่น "แพรวาบ้านโพน" เป็นผ้าไหมที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเกิดของผู้เขียนนั้นเอง สีและลวดลายของผ้าขาวม้าจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องถิ่นโดยทางภาค กลาง ผ้าขาวม้าจะมีลวดลายเป็นตาลายสก๊อต และของภาคอีสานจะเป็นแบบตาเล็กๆ
ผ้าขาวม้ามีมานานหรือยัง?
ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ถ้าจะย้อนเวลากลับไปก็จะราวๆสมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ ตรงกับยุคสมัยเชียงแสน ในสมัยเชียงแสนผู้หญิงมักนุ่งผ้าถุง ส่วนผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเคียนเอว (ผ้าขาวม้า) ซึ่งได้วัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่ (ไทยใหญ่ใช้ โพกศีรษะ) ส่วนไทยเรายังมวยผมอยู่ เมื่อเห็นประโยชน์ของผ้าจึงนำมาใช้บ้าง แต่เปลี่ยนมาเป็นผ้าเคียนเอว เมื่อเดินทางไกลจึงนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งให้ประโยชน์มาก เช่น ใช้ห่ออาวุธ และเก็บสัมภาระในการเดินทาง ปูที่นอน นุ่งอาบน้ำ ใช้เช็ดร่างกาย เมื่อไทยใหญ่เห็นประโยชน์ของการใช้ผ้า จึงนำมาเคียนเอวตามอย่างบ้าง "เคียน" เป็นคำไทย มีความหมายตามพจนานุกรม คือ พัน ผูก พาด โพก คาด คลุม เมื่อนำมารวมกับคำว่า "ผ้า" และส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น เอว จึงมีความหมายว่า เป็นผ้าสำหรับคาดเอว ซึ่งคนไทยโบราณจะรู้จัก ผ้าเคียนเอว มากกว่า ผ้าขาวม้า เนื่องจากใช้เรียกกันมาแต่โบราณ ส่วนคำว่า ผ้าขาวม้า มานิยมใช้เรียกกันในภายหลังหลักฐานที่แสดงว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัย เชียงแสน มีปรากฏให้เห็นจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดภูมินทร์ จ. น่าน และเมื่อดูการแต่งกายของ หญิง/ชาย ไทยในสมัยอยุธยา จากภาพเขียนในสมุดภาพ ไตรภูมิสมัยอยุธยา ราวต้นศตวรรษ ที่ ๒๒ จะเห็นได้ว่าชาวอโยธยานิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุง หรือนุ่งโจงกระเบนแล้วใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง สมัยรัตนโกสินทร์ชาวไทยทั้งชาย และหญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้ามาทำประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำกัดแต่เพียงเพศชายอย่างเดียวเหมือนในอดีต และไม่จำกัดเฉพาะทำเป็นเครื่องตกแต่งร่างกายอย่างเดียว
ประโยชน์ของผ้าขาวม้า
ถ้าจะเอ่ยถึงประโยชน์ของผ้าขาวม้านั้นมีมากมาย ทั้งใช้นุ่งอาบน้ำ ใช้ซับเหงื่อ ปูรองนั่งหรือนอน โพกศีรษะกันแดด ผูกทำเปล เด็ก ใช้นุ่งอยู่บ้านแทนกางเกง คาดเอว ห่ม - คลุม ร่างกาย ใช้ห่อของแทนย่าม นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง ปัดฝุ่น แมลง ยุง ใช้มัดแทนเชือก ใช้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ม้วนหนุนแทนหมอน บังแดด ฝน ลม ทำความสะอาดสิ่งของ เครื่องใช้ ใช้เช็ดตัวแทนผ้าเช็ดตัว ทำผ้าขี้ริ้ว พรมเช็ดเท้า( เมื่อชำรุดแล้ว ) ใช้โบกแทนพัด ใช้แทนผ้าพันแผล ทำผ้ากันเปื้อน คลุมโต๊ะ ทำผ้าอ้อมสำหรับ เด็ก
ฯลฯ จะเห็นได้ว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์จริงๆ
การผลิตหรือทอผ้าขาวม้า
การผลิตหรือทอผ้าขาวม้านั้นจะเริ่มที่การออก แบบลายผ้าขาวม้า เมื่อได้ลายที่ต้องการแล้ว ถึงจะทำการเตรียมด้าย แบ่งออกเป็น การฆ่าฝ้าย ซึ่งเป็นการทำให้เส้นด้ายที่ทำจากฝ้ายไม่เป็นขนและทำให้เส้นด้ายแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายไม่พันกัน การฆ่าฝ้ายมีขั้นตอนคือ เริ่มจากนำน้ำใส่ในหม้อที่เตรียมไว้ประมาณ ๕ ลิตร ต่อแป้งข้าวเจ้า ๑ กิโลกรัม ในอดีตจะใช้ข้าวจ้าวแต่ปัจจุบันเพื่อความสะดวกจึงใช้แป้งข้าวจ้าวแทน จากนั้นต้มโดยคนให้เข้ากันจนแป้งละลายและนำมาพักไว้ให้เย็น เมื่อน้ำต้มแป้งเย็นแล้วจึงนำด้ายมาแช่และต้องขยำด้ายเพื่อให้แป้งเข้า เคลือบเส้นด้ายทั่วถึงทุกเส้น แช่ทิ้งไว้สักพักจึงนำด้ายไปผึ่งให้แห้งโดยผึ่งในที่ร่มหรือกลางแดดก็ได้ ขั้นตอนการผึ่งนั้นให้ผึ่งกับราวไม้ไผ่เพราะต้องนำด้ายมาสอดกับราวแล้วสะบัด ด้ายเพื่อให้ด้ายแตกจากกัน และมีเส้นที่ตรงไม่บิดงอ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมด้าย โดยนำด้ายที่ผึ่งจนแห้งแล้วมาใส่ในกง ซึ่งกงเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ยาวประมาณ ๑ เมตร ๘ อัน และนำมาผูกโยงเข้ากันด้านละ ๔ อัน ด้วยเชือกและมีแกนกลาง ๑ แกน เพื่อจะกวักด้ายใส่ไว้ในอัก เพื่อเป็นการเตรียมด้ายไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้จะต้องมีการเตรียมเครือหรือลายยืนในภาษาอิสานเรียกว่า ค้นหูก เมื่อเตรียมด้ายลายยืนหรือค้นฮูกได้ตามขนาดความกว้างของฟืมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำด้ายลายยืนที่เตรียมเสร็จแล้วมาเข้าฟืมหรือภาษาอิสาน เรียกว่า สืบหูก ฟืมเป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าที่มีส่วนประกอบ คือ ตัวฟืม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีซี่หลาย ๆ ซี่ตรงกลาง และมีเขาฟืมเพื่อดึงเส้นด้ายลายยืนให้ขึ้นลงขัดกับด้ายลายพุ่งในขั้นตอนการท อ ซึ่งเขาฟืมจะมีจำนวนตามลายว่าเป็นลายด้ายยืนว่าต้องการให้เป็นลายดอกหรือลาย ขัดธรรมดา การสืบหูก คือ การนำเครือหรือด้ายลายยืนต่อเข้ากับด้ายเก่าที่ติดมากับฟืมโดยต่อตามลำดับ ของลายที่ได้ค้นไว้ที่ละเส้น เมื่อต่อเสร็จครบทุกเส้นแล้วจึงนำไปขึ้นกี่เพื่อเตรียมทอต่อไป จากนั้นเป็นการเตรียมด้ายลายพุ่ง มีวิธีการ คือ นำด้ายสีเดียวกันกับลายยืนมาปั้นใส่หลอดของกระสวยให้ได้ขนาดของกระสวย โดยใช้หลาเป็นอุปกรณ์ในการปั่นด้ายออกจากอัก เมื่อเตรียมเครือหรือด้ายลายยืน และด้ายลายพุ่งเสร็จแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทอด้ายจากเส้นให้เป็นผืน ผ้าขาวม้า โดยการนำด้ายที่ปั้นใส่หลอดมาใส่กระสวยซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการนำด้ายลายพุ่ง ให้วิ่งสอดขัดกับด้ายลายยืนกลับไปกลับมาทีละเส้นทีละสีตามลายที่กำหนดไว้ไป เรื่อยๆ จนได้ความยาวตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทอหรือการ ต่ำหูก
ที่มาข้อมูล http://farmfriend.blogspot.com
ลักษณะของผ้าขาวม้า
ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี อย่างไรก็ตาม ผ้าสีเดียว ที่มีขนาดเท่ากับผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุกแบบนี้ หากนำมาใช้นุ่งสำหรับผู้ชาย ก็นิยมเรียกผ้าขาวม้าเช่นกัน ผ้าขาวม้าในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งคำว่าผ้าขาวม้า เป็นภาษาทางภาคกลาง ส่วนในภาคอีสานบางแห่งเรียกว่าผ้าแพร ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า กี่ และจะทอเป็นขนาดยาวประมาณ 20-30 เมตร ต่อการทอแต่ละครั้งแล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นผืน ผืนละ 1 วา หรือ ประมาณ 1 เมตรครึ่ง ดังนั้น บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าผ้าแพรวา บางพื้นที่ใช้ผ้าไหมทำก็จะเรียกผ้าไหมแพรวา เช่น "แพรวาบ้านโพน" เป็นผ้าไหมที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเกิดของผู้เขียนนั้นเอง สีและลวดลายของผ้าขาวม้าจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องถิ่นโดยทางภาค กลาง ผ้าขาวม้าจะมีลวดลายเป็นตาลายสก๊อต และของภาคอีสานจะเป็นแบบตาเล็กๆ
ผ้าไหมแพรวา มีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สาวภูไท ใส่ผ้าไหมแพรวา
วัฒนธรรมการใส่ผ้าไหมแพรวา มีมาแต่โบราณ
การแต่งกายของชาวอีสาน ใช้ผ้าขาวม้าโพกหัว และพาดบ่า
ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ถ้าจะย้อนเวลากลับไปก็จะราวๆสมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ ตรงกับยุคสมัยเชียงแสน ในสมัยเชียงแสนผู้หญิงมักนุ่งผ้าถุง ส่วนผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเคียนเอว (ผ้าขาวม้า) ซึ่งได้วัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่ (ไทยใหญ่ใช้ โพกศีรษะ) ส่วนไทยเรายังมวยผมอยู่ เมื่อเห็นประโยชน์ของผ้าจึงนำมาใช้บ้าง แต่เปลี่ยนมาเป็นผ้าเคียนเอว เมื่อเดินทางไกลจึงนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งให้ประโยชน์มาก เช่น ใช้ห่ออาวุธ และเก็บสัมภาระในการเดินทาง ปูที่นอน นุ่งอาบน้ำ ใช้เช็ดร่างกาย เมื่อไทยใหญ่เห็นประโยชน์ของการใช้ผ้า จึงนำมาเคียนเอวตามอย่างบ้าง "เคียน" เป็นคำไทย มีความหมายตามพจนานุกรม คือ พัน ผูก พาด โพก คาด คลุม เมื่อนำมารวมกับคำว่า "ผ้า" และส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น เอว จึงมีความหมายว่า เป็นผ้าสำหรับคาดเอว ซึ่งคนไทยโบราณจะรู้จัก ผ้าเคียนเอว มากกว่า ผ้าขาวม้า เนื่องจากใช้เรียกกันมาแต่โบราณ ส่วนคำว่า ผ้าขาวม้า มานิยมใช้เรียกกันในภายหลังหลักฐานที่แสดงว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัย เชียงแสน มีปรากฏให้เห็นจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดภูมินทร์ จ. น่าน และเมื่อดูการแต่งกายของ หญิง/ชาย ไทยในสมัยอยุธยา จากภาพเขียนในสมุดภาพ ไตรภูมิสมัยอยุธยา ราวต้นศตวรรษ ที่ ๒๒ จะเห็นได้ว่าชาวอโยธยานิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุง หรือนุ่งโจงกระเบนแล้วใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง สมัยรัตนโกสินทร์ชาวไทยทั้งชาย และหญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้ามาทำประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำกัดแต่เพียงเพศชายอย่างเดียวเหมือนในอดีต และไม่จำกัดเฉพาะทำเป็นเครื่องตกแต่งร่างกายอย่างเดียว
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดภูมินทร์ จ. น่าน
หลักฐานที่แสดงว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสน
ประโยชน์ของผ้าขาวม้า
ถ้าจะเอ่ยถึงประโยชน์ของผ้าขาวม้านั้นมีมากมาย ทั้งใช้นุ่งอาบน้ำ ใช้ซับเหงื่อ ปูรองนั่งหรือนอน โพกศีรษะกันแดด ผูกทำเปล เด็ก ใช้นุ่งอยู่บ้านแทนกางเกง คาดเอว ห่ม - คลุม ร่างกาย ใช้ห่อของแทนย่าม นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง ปัดฝุ่น แมลง ยุง ใช้มัดแทนเชือก ใช้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ม้วนหนุนแทนหมอน บังแดด ฝน ลม ทำความสะอาดสิ่งของ เครื่องใช้ ใช้เช็ดตัวแทนผ้าเช็ดตัว ทำผ้าขี้ริ้ว พรมเช็ดเท้า( เมื่อชำรุดแล้ว ) ใช้โบกแทนพัด ใช้แทนผ้าพันแผล ทำผ้ากันเปื้อน คลุมโต๊ะ ทำผ้าอ้อมสำหรับ เด็ก
ฯลฯ จะเห็นได้ว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์จริงๆ
การนุ่งผ้าขาวม้าอาบน้ำ
นุ่งผ้าขาวม้าเหน็บเตี่ยว
เปลผ้าขาวม้าสำหรับเด็กอ่อน ชาวอีสานเรียก "อู่"
การผลิตหรือทอผ้าขาวม้านั้นจะเริ่มที่การออก แบบลายผ้าขาวม้า เมื่อได้ลายที่ต้องการแล้ว ถึงจะทำการเตรียมด้าย แบ่งออกเป็น การฆ่าฝ้าย ซึ่งเป็นการทำให้เส้นด้ายที่ทำจากฝ้ายไม่เป็นขนและทำให้เส้นด้ายแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายไม่พันกัน การฆ่าฝ้ายมีขั้นตอนคือ เริ่มจากนำน้ำใส่ในหม้อที่เตรียมไว้ประมาณ ๕ ลิตร ต่อแป้งข้าวเจ้า ๑ กิโลกรัม ในอดีตจะใช้ข้าวจ้าวแต่ปัจจุบันเพื่อความสะดวกจึงใช้แป้งข้าวจ้าวแทน จากนั้นต้มโดยคนให้เข้ากันจนแป้งละลายและนำมาพักไว้ให้เย็น เมื่อน้ำต้มแป้งเย็นแล้วจึงนำด้ายมาแช่และต้องขยำด้ายเพื่อให้แป้งเข้า เคลือบเส้นด้ายทั่วถึงทุกเส้น แช่ทิ้งไว้สักพักจึงนำด้ายไปผึ่งให้แห้งโดยผึ่งในที่ร่มหรือกลางแดดก็ได้ ขั้นตอนการผึ่งนั้นให้ผึ่งกับราวไม้ไผ่เพราะต้องนำด้ายมาสอดกับราวแล้วสะบัด ด้ายเพื่อให้ด้ายแตกจากกัน และมีเส้นที่ตรงไม่บิดงอ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมด้าย โดยนำด้ายที่ผึ่งจนแห้งแล้วมาใส่ในกง ซึ่งกงเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ยาวประมาณ ๑ เมตร ๘ อัน และนำมาผูกโยงเข้ากันด้านละ ๔ อัน ด้วยเชือกและมีแกนกลาง ๑ แกน เพื่อจะกวักด้ายใส่ไว้ในอัก เพื่อเป็นการเตรียมด้ายไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้จะต้องมีการเตรียมเครือหรือลายยืนในภาษาอิสานเรียกว่า ค้นหูก เมื่อเตรียมด้ายลายยืนหรือค้นฮูกได้ตามขนาดความกว้างของฟืมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำด้ายลายยืนที่เตรียมเสร็จแล้วมาเข้าฟืมหรือภาษาอิสาน เรียกว่า สืบหูก ฟืมเป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าที่มีส่วนประกอบ คือ ตัวฟืม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีซี่หลาย ๆ ซี่ตรงกลาง และมีเขาฟืมเพื่อดึงเส้นด้ายลายยืนให้ขึ้นลงขัดกับด้ายลายพุ่งในขั้นตอนการท อ ซึ่งเขาฟืมจะมีจำนวนตามลายว่าเป็นลายด้ายยืนว่าต้องการให้เป็นลายดอกหรือลาย ขัดธรรมดา การสืบหูก คือ การนำเครือหรือด้ายลายยืนต่อเข้ากับด้ายเก่าที่ติดมากับฟืมโดยต่อตามลำดับ ของลายที่ได้ค้นไว้ที่ละเส้น เมื่อต่อเสร็จครบทุกเส้นแล้วจึงนำไปขึ้นกี่เพื่อเตรียมทอต่อไป จากนั้นเป็นการเตรียมด้ายลายพุ่ง มีวิธีการ คือ นำด้ายสีเดียวกันกับลายยืนมาปั้นใส่หลอดของกระสวยให้ได้ขนาดของกระสวย โดยใช้หลาเป็นอุปกรณ์ในการปั่นด้ายออกจากอัก เมื่อเตรียมเครือหรือด้ายลายยืน และด้ายลายพุ่งเสร็จแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทอด้ายจากเส้นให้เป็นผืน ผ้าขาวม้า โดยการนำด้ายที่ปั้นใส่หลอดมาใส่กระสวยซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการนำด้ายลายพุ่ง ให้วิ่งสอดขัดกับด้ายลายยืนกลับไปกลับมาทีละเส้นทีละสีตามลายที่กำหนดไว้ไป เรื่อยๆ จนได้ความยาวตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทอหรือการ ต่ำหูก
การเตรียมด้ายเพื่อไปทอผ้าขาวม้า
การกวักด้ายจากกงมาใส่อัก
การค้นหูก
การสืบหูก
การปั่นด้ายใส่หลอด
หลอดบรรจุในกระสวยเตรียมนำไปทอผ้าขาวม้า หรืออีสานเรียกต่ำหูก
การต่ำหูก หรือทอผ้าขาวม้า
เห็นมั๊ยล่ะครับว่าผ้าขาวม้านั้นมีประโยชน์
มากมาย และมีการใช้มาตั้งแต่ช้านาน
ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ผ้าขาวมาในรูปแบบต่างๆ มากมายหลายแบบออกไป เช่น
ตัดชุดไทยประยุกต์ ทำหมอน ทำกิ๊ปช๊อป ทำหมวก รองเท้า ฯลฯ
ที่มาข้อมูล http://farmfriend.blogspot.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น