รับเหมาก่อสร้าง-รับสร้างบ้าน-ต่อเติม-ซ่อมแซม บ้าน อาคารโรงงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและบริเวณใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น-งานปูพื้น-งานตกแต่งภายใน-งานฝ้าเพดาน-งานผนังกั้นห้อง-ระบบงานไฟฟ้า-งานขุดเจาะงาน ปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านใหม่ ต่อเติมอาคารร้านอาหาร,ร้านค้า, ต่อเติมบ้าน, อาคาร, ต่อครัว, ต่อโรงรถ, งานพื้น, งานผนัง, งานฝา, ทาสีอาคาร, ปูกระเบื้อง, งานเหล็ก, ทำรั้ว,กำแพง, โครงหลังคา, ซ่อมหลังคา ระเบียง ผนังรั่ว ซ่อมแซม นึกถึง ทีมงาน เฮียเล็ก ติดต่อ 093-062-2532

เคล็ด (ไม่) ลับ กับการปลูกพริกให้ทันช่วงราคาสูง

          พริก (Capsicum annuum)   ที่ปลูกในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ   เป็นพริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์ซุปเปอร์ฮอท ช่อระย้า จินดา ม่วงแดง
หัวเรือ  ปลูกในสภาพไร่และสภาพนา พื้นที่ปลูก 24,000 ไร่  ผลผลิตพริกสดทั้งพริกเขียวและพริกแดงออกสู่ตลาดปีละมากกว่า 31,900 ตัน คิดเป็น
มูลค่า 684 ล้านบาท


          จากรายงานของบุญส่ง เอกพงษ์ และคณะ  พริกที่ให้ผลผลิตสามารถซื้อขายได้ในเดือนพฤศจิกายน  จะหยุดให้ผลผลิตในเดือนพฤษภาคม-
มิถุนายนของทุกปี ทั้งพริกเขียวและพริกแดงสด ช่วงพริกเขียวได้ราคาดีเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ราคากิโลกรัมละ 20-25 บาท ส่วนพริกแดงได้
ราคาดีในเดือนธันวาคม - กลางมกราคม กิโลกรัมละ 40-50 บาท  โดยเฉพาะในปี 2550 ราคาสูงถึง 60-85 บาท/กก.   แน่นอนว่าเกษตรกรทุกคนมี
ความฝันอยากจะขายได้   เพราะตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน   ราคาจะลดลงเรื่อยๆ จนถึง 8 บาท    และ 15 บาทต่อกิโลกรัม ของพริกเขียวและ
พริกแดงตามลำดับ เกษตรกรจะหยุดขายเพื่อเก็บพริกสุกแดงเต็มที่ตากแห้ง จำหน่ายในรูปพริกแห้งแทน ดังนั้นจะจัดการอย่างไรจึงจะผลิตพริกออก
จำหน่ายได้ทันราคาสูงตามต้องการ
          1. ต้องมีที่ดอนน้ำไม่ท่วม  ดินดี มีความเป็นกรด - ด่าง 6 - 6.8   มีอินทรีย์วัตถุ 1.5 % ฟอสฟอรัส 10 - 20 พีพีเอ็ม โปตัสเซียม 60 พีเอ็ม
แคลเซียม 100-200 พีเอ็ม แมกนีเซียม 12-36  พีเอ็ม  มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ไม่มีไส้เดือนฝอยรากปม

2. เริ่มเพาะต้นกล้าพริกตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม - กลางเดือนสิงหาคม เพื่อจะปลูกในเดือนกันยายน ในช่วงดังกล่าวฝนตกชุกที่สุด
จะทำให้ต้นกล้าเน่า เพราะน้ำขังหรือดินแน่น เกษตรกรจะมีทางเลือก 2 ทาง

               1. เพาะต้นกล้าในกะบะพลาสติก (ถาดหลุม)   ถาดละ 104 หลุม   ราคาใบละ 18 บาท     โดยเตรียมวัสดุเพาะใส่ถาดหลุมประกอบด้วย
                   ดินผสม ได้แก่ ดิน : แกลบดำ : ปุ๋ยคอก = 4:1:1 นำดินผสมมารวมกับส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง + เชื้อไตรโคเดอร์มาสด + รำอ่อน
                   อัตรา (100 กก. + 1 กก. + 5 กก.) อัตราดินผสม : ส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง = 4 : 1

                   เมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะต้องเป็นพันธุ์ดี ไม่มีโรคและแมลง  ก่อนเพาะ 1 วัน ต้องนำไปแช่น้ำอุ่น 55 OC (น้ำเย็น 1 ส่วน + น้ำเดือด 1
                   ส่วน) นาน 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแอนแทรคโนส(กุ้งแห้ง)ที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้

                   เมล็ดที่ลอยน้ำแสดงว่าลีบให้เก็บทิ้ง    หลังจากนั้นนำไปแช่ในสารละลายสปอร์เชื้อไตรโคเดอร์มาสด (เชื้อสด 4 ถุง + น้ำ 100 ลิตร)
                   แช่เมล็ด 1 คืน จึงเพาะในกะบะหลุมละ 1 เมล็ด กลบดิน เก็บถาดในที่ร่มรำไร หรือมีตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง

                   หลังจากงอกได้ 15 วัน พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วัน) จะทำให้ต้นโตเร็วขึ้นไม่ควร
                   ใช้ยูเรีย เพราะต้นกล้าจะอวบเกินไป เมื่อต้นกล้าอายุ 1 เดือนนำมาปลูกได้

                2. เพาะต้นกล้าในแปลงที่อยู่ในที่ดอน  ใช้ตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง    วิธีการเตรียมเมล็ดทำเหมือนเพาะในกะบะทุกอย่าง
                    ส่วนวัสดุเพาะใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสด ผสมปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 2-3 กก./10 ตารางเมตร   ร่วมกับหว่านปูนขาว 0.5-1 กก./10 ตาราง-
                    เมตรคลุกเคล้าให้เข้ากัน   จึงหว่านเมล็ด กลบดินใช้ไม้ตีให้เมล็ดจมดินทุกเมล็ด   อย่าให้เมล็ดอยู่เหนือดิน เมื่ออายุ 1 เดือน ถอนไป
                    ปลูกได้
          3. การปลูกพริก ไม่ควรปลูกเกิน 15 กันยายน   หลังเตรียมดินดีแล้ว  พร้อมปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวโดโลไมท์อัตรา 20-25 กก./ไร่
ก่อนปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 150-200 กก./ไร่ (ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.)เกษตรกรนิยมปลูก
แบบ ปักดำ กดรากลงในดินจะทำให้โคนต้นช้ำง่าย  ต้นกล้าจึงต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน ถ้าต้องการให้ต้นกล้าดูดอาหาร   แตกกิ่งได้เร็วขึ้นควรปลูกแบบ
หลุม และยกร่องเพื่อป้องกันน้ำขัง ในหลุมรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้ง(ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.) อัตราหลุม
ละ 100 กรัม   ก่อนปลูกแช่รากพริกด้วยเชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัมละลายในน้ำ 100 ลิตร แช่นาน 30 นาที จนกว่าจะปลูกเสร็จ (ถ้าปลูกไม่เสร็จให้
ละลายเชื้อใหม่อย่าแช่รากทิ้งไว้)  การปลูกแบบหลุมเมื่อรากฟื้นตัวจะดูดอาหารได้ทันที  และป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่าด้วย  ซึ่งในฤดูฝนเสี่ยง
ต่อโรคในดินหลายชนิด ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่ากำจัดด้วยสารเคมี 

 4. การดูแลรักษาพริก หลังปลูก 15 วัน  พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนออกดอก) พ่น
น้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงผลอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนถึงเก็บเกี่ยว) พ่นแคลเซียมไนเตรท  อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  ใน
ช่วงติดผลเล็กเพื่อแก้ปัญหาเกิดผลนิ่ม ปลายผลเหี่ยวเนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและป้องกันไม่ให้เชื้อ Colletotrichum spp. สาเหตุโรคกุ้งแห้ง
เข้าทำลายซ้ำ พ่นสปอร์เชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัม+น้ำ 200 ลิตรร่วมกับน้ำหมักชีวภาพทุก 1 เดือน ถ้ามีไร โรค แมลงศัตรูทำลายให้ใช้สารเคมีตาม
ความเหมาะสมหรือพ่นสลับกับน้ำหมักสมุนไพร
          5. การให้ปุ๋ย  ระยะ 1 เดือนแรก  ก็ให้ทางดินร่วมกับทางใบเป็นหลัก  โดยการให้ทางดินก็ให้สูตร 46-0-0 สลับกับ 15-0-0  หรือ 15-15-15
ในเดือนแรก ในอัตรา 5 กก.ต่อไร่/ครั้ง แต่ไม่เกิน 10 กก.ต่อไร่/ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ส่วนทางใบใช้สูตร 20-20-20 สลับ 30-20-10  เพื่อเร่งการเจริญ
เติบโต ในอัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  ระยะเดือนที่ 2-3  ระยะนี้พริกมีอายุ 30-90 วัน ซื่งมีการติดผลของพริกในชุดแรก  ธาตุอาหารทางดินและทาง
ใบยังจำเป็นเหมือนเดิม  ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ 13-13-21 ส่วนทางใบใช้สูตร 15-0-0  เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมในช่วงติดผลเล็ก ในอัตรา 30
กรัม/น้ำ 20 ลิตร
              ระยะเดือนที่ 4-6  ระยะนี้พริกมีอายุ 120-180 วัน    ซื่งมีการเก็บผลผลิตของพริกในชุดแรกเก็บได้มาก  ธาตุอาหารทางดินและทางใบยัง
จำเป็นเหมือนเดิม  ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ 13-13-21       ร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาสด   อัตรา 1:25    ส่วนทางใบใช้สูตร
20-20-20 สลับ 10-20-30 ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ปุ๋ยทุกครั้งหลังเก็บผลผลิตจำหน่าย

 
จากบุญส่ง เอกพงษ์ และคณะ
กราฟแสดงราคาเฉลี่ยของพริกเขียวและพริกแดงสดในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี
การทำปุ๋ยหมักแห้ง
          1. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 3 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ
          2. ปุ๋ยคอก 400 กก. + แกลบดิบเก่า 100 กก. + รำอ่อน 30 กก. + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ
          3. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากถั่วเหลือง 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ (10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก
              100 กก.)
          4. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากตะกอนอ้อย 2 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ  (10 ลิตรต่อปุ๋ย
              หมัก 100 กก.)
วิธีทำ
          ผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลในน้ำ  ใส่บัวรดบนส่วนผสมที่มีปุ๋ยคอก แกลบ รำ  โดยวนจากข้างนอกเข้าข้างใน อย่าให้แฉะถ้าแฉะมาก
ความร้อนจะสูงและเป็นก้อนและอย่าแห้งเกินไป (กำปุ๋ยหมักถ้าเป็นก้อนความชื้นพอดี ถ้าแผ่กระจายจะแห้งเกินไป) หลังทำแล้ว 8 ชั่วโมง ความร้อน
ในกองปุ๋ยจะสูงมากให้กลับปุ๋ยในกองทุกวัน ประมาณ 7-10 วัน  ความร้อนในกองจะปกติเก็บใส่ถุงไว้ใช้ต่อไป  หรือถ้ามีถุงปุ๋ยให้กรอกใส่ถุงเลยเพื่อ
ความสะดวกในการกลับกระสอบปุ๋ยหมักและการขนย้าย 

ขอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.doa.go.th


แชร์ไปยัง Google Plus

About เฮียเล็ก

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น